กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


กฏหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


1.1ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์      ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือลิขสิทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆโดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์สนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
  • Commercial ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่มุ่งในเรื่องการค้า เพราะการจะได้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ประเภทCommercial ware มาใช้นั้นผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ Commercial ware มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที
  • Share ware คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้มีการทดลองใช้ก่อน เมื่อผู้บริโภคสนใจที่จะใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น เจ้าของโปรแกรมหรือ ผู้พัฒนาโปรแกรมจะทำการเก็บเงินในการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นๆ Share ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นเดียวกับ Commercial ware
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี แต่ก็มีการเก็บเงินบ้างเป็นบางครั้ง บวกกับการโฆษณาบนเว็บไซต์ Ad ware มีการคุ้มครองจากลิขสิทธิ์อย่างเต็มที เช่นกัน
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรีโดยไม่มีการเสียค่าตอบแทนแต่อย่างได้ และสามารถนำโปรแกรมประเภทFree wareส่งต่อให้ผู้อื่นใช้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่มีการนำโปรแกรมนั้นไปขาย Free ware มีการคุ้มครองน้อยหรือมีการคุมครองเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
  • Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันพัฒนาโปรแกรมประเภทOpen sourceได้อีกด้วยโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก่ไขโปรแกรมนั้นๆ


1.2การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์       การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึงการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการคัดลอกซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีหลายประเทศที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีกฎหมายบังคับ แต่ระดับการบังคับแตกต่างกันไป ระบบคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดในทุกวันนี้มีอายุราว 40 ปี ในด้านลิขสิทธิ์แล้วจะไม่หมดลิขสิทธิ์ไปจนราวปี ค.ศ. 2030 ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ประเภทของการละเมิดลิขสิทธิ์
  1. การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน (Enduser Copy) คือ การทำสำเนาโดยผู้ใช้งาน การทำสำเนาแจกจ่ายระหว่างผู้ใช้งานแม้ว่าจะเป็นการทำสำเนาจากซอฟต์แวร์ต้นฉบับของแท้ ก็จัดว่าเป็นการละเมิดประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการใช้งานซอฟต์แวร์มากกว่าจำนวนที่ได้รับสิทธิ การกระทำเช่นนี้มิเพียงแต่เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส และความเสียหายของข้อมูล ฯลฯ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายอันประเมินค่ามิได้ต่อธุรกิจของท่าน
  2. การติดตั้งซอฟต์แวร์ลงในฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Loading) เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ โดยแนะนำให้ลูกค้าซื้อซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตนเองจะให้บริการติดตั้งเท่านั้น หรือ แนะนำให้ลูกค้ารับเครื่องเปล่าไปก่อน และส่งเจ้าหน้าที่ไปติดตั้งที่บ้านหรือที่ทำงานของลูกค้าภายหลัง
  3. การปลอมแปลงสินค้า (Counterfeiting)ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์บางรายถึงกับผลิต CD และคู่มือปลอมจำหน่าย โดยจัดทำบรรจุภัณฑ์เหมือนกับสินค้าจริงทุกประการ เพื่อเป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าได้สินค้าของแท้
  4. การละเมิดลิขสิทธิ์ Online (Internet Piracy) ลักษณะที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบันคือการ Download ซอฟต์แวร์ผ่าน Internet โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ใช่ Shareware
  5. การขายหรือใช้ลิขสิทธิ์ผิดประเภท ในบางกรณีผู้ค้าซอฟต์แวร์จำหน่ายซอฟต์แวร์ผิดประเภทให้กับลูกค้า ทำให้ผู้ซื้อตกอยู่ในความเสี่ยงทางกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผลกระทบ
      เทคโนโลยีการแชร์ไฟล์แบบเพียร์ทูเพียร์ (Pear 2 Pear; P2P) เป็นเทคโนโลยีทีช่วยลดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการรับข้อมูลเป็นจำนวนมาก มีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ในขณะเดียวกันเครือข่ายความรู้นี้ก็อาจเปลี่ยนไปเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งยากต่อการตรวจสอบเนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลียนชื่อไฟล์และเนื้อหาที่จะแชร์ได้
คุณภาพของฟรีแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้นจนเป็นทางเลือกของผู้ใช้ได้ มีส่วนช่วยลดการใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ผู้ผลิตซอฟต์แวร์บางรายมองว่า การทำสำเนาซอฟต์แวร์ของตนเพื่อเผยแพร่ แม้จะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ดีกว่าการไปซื้อซอฟต์แวร์หรือทำสำเนาของซอฟต์แวร์ที่เป็นคู่แข่งขันกัน ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ เจฟ ไรค์ส์ กล่าวว่า "ถ้าพวกเขาอยากจะละเมิดลิขสิทธิ์ใครสักคน ขอให้ใครสักคนที่ว่านั้นเป็นเรา ไม่ใช่คนอื่น" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า "เราเข้าใจว่าในระยะยาว สิ่งพื้นฐานที่มีค่าที่สุดคือจำนวนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ของเรา สิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะทำไปเรื่อย ๆ ระหว่างนี้คือการเปลี่ยนให้คนที่ใช้ของละเมิดใช้ของที่ถูกกฎหมายแทน"
จากการศึกษารวมกันเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ระหว่าง Business Software Alliance และ Software Publishers Association พบว่าความเสียหายเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของทั้งโลกมากกว่า 13 ล้านเหรียญ ในปี 1995 และมีแนวโน้วว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
กรณีศึกษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ Microsoft vs. Atec เรื่องนี้เป็นคำพิพากษาฎีกาเมื่อปี 2543 ที่ผ่านมา เป็นคดีสำคัญที่ผู้ศึกษากฎหมายโดยทั่วไปส่วนมากจะรู้จัก โดยเฉพาะในวิชากฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยพยานหลักฐาน คำพิพากษาฎีกาของจริงนี่จะยาวมากๆแต่ที่ยกมาจะอยู่ในรูปของการเล่าเรื่อง มากกว่า ไม่ใช่เป็นฎีกาโดยย่อแต่อย่างใด เพียงอยากให้รู้ว่าคดีนี้ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร และผลของคำพิพากษาเป็นอย่างไร
จากข้อมูลที่ได้มามีคำพิพากษาของ สองศาลคือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและของศาลฎีกา ซึ่งแน่นอน ผลของคำพิากษาต่างกัน
      เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2550 นายภิรมย์ ฟองทราย ที่ ๑ กับพวก ๒ คน โจทก์ นายประเวศ ประยุทธสินธุ์ ที่ ๑ กับพวก ๓ คน จำเลย
      คดี STREAMCAST  หัวข้อที่สำคัญคือการพิสูจน์ว่าผู้ค้าส่งซอฟแวร์มีเจตนาที่จะส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์ ในคำวินิจฉัย ศาลฎีกากล่าวว่ามีพยานวัตถุว่า เครือข่าย Streamcast มีการจูงใจให้ประชาชนใช้ซอฟแวร์ของเขาไปในทางที่ผิดกฎหมายโดยการแชร์ไฟล์ที่มีลิขสิทธิ์ ศาลไม่ได้วินิจฉัยให้เครือข่าย Streamcast เป็นผู้ที่ต้องรับผิดหรือไม่ แต่พวกเขาเพียงสามารถอ้างความรับผิดได้เท่านั้น โดยหลักแล้วศาลกล่าวว่าไม่สามารถฟ้องบริษัทเทคโนโลยีได้ ถ้าเขาเพียงแต่ทราบว่าลูกค้าของเขาใช้สินค้าของเขาโดยเจตนาที่ผิดกฎหมาย คำวินิจฉัยหมายความว่าศาลสหรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมีอิสระในการตัดสินใจในแต่ละคดี ที่ก่อให้เกิดการส่งเสริมให้มีการละเมิดลิขสิทธิ์

1.3พรบ.ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์

      กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิด และสติปัญญาของตน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญา ของตน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากขิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

            ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณการประเภทหนึ่ง

             งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

              แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ความตระหนัก รู้ถึงความสำคัญขงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยั่งยืนกว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ


1.4บทกำหนดการลงโทษ
      การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง :  มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก จะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

      กรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

      ค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่าวไรก็ดีการได้รับค่าปรับดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น

เอกสารอ้างอิงhttp://th.wikipedia.org/wiki/ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
http://oho.ipst.ac.th/article/it-articles/39-Copyright
http://th.wikipedia.org/wiki/การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์